บ้านสไตล์มินิมอล

บ้านสไตล์มินิมอล

Contents

บ้านสไตล์มินิมอล

บ้านสไตล์มินิมอล

แบบบ้านสมัยใหม่ phuketvillaland.live เราขอแนะนำ บ้านสไตล์มินิมอล ชีวิตที่ไม่ต้อง การอะไรเยอะ บ้านโมเดิร์นมินิมอล เรียบง่ายให้สัมผัส ธรรมชาติหลาย ๆ คนมีรสนิยมใน การสร้างบ้าน และ ตกแต่งภายในที่เน้น ความเรียบง่ายแต่ดูดี และให้ความรู้สึก อบอุ่นสไตล์มินิมอล ซึ่งอารมณ์บ้าน ประมาณนี้จะมี ความเป็นญี่ปุ่น แบบสมัยใหม่เข้า มามีอิทธิพลพอสมควร

ด้วยภาพบ้านที่นำเสนอวัสดุคอนกรีต ไม้ สีอ่อน ๆ ดูเป็นธรรมชาติ น้อยแต่มากไม่รกตา มีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหลัก ๆ ในการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นคนเซ็ปที่เจ้าของบ้านรุ่นใหม่ ๆ เก็บไปเป็นแรงบันดาลใจ เพราะจะได้พิจารณาตัดสิ่งที่เกินความจำเป็นออกจากพื้นที่ แล้วใช้ชีวิตอย่างสบายตัวสบายใจครับ

บ้านสองชั้นสไตล์มินิมอล เรียบง่ายอบอุ่น

บ้านสไตล์มินิมอล

บ้านสองชั้น สไตล์มินิมอล แบบญี่ปุ่น เรียบง่ายด้วยดีไซน์ และ วัสดุหลังนี้ชื่อว่า Ueda’s House ในเมืองนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นบ้านที่ออกแบบให้มีเส้นขอบรูปทรงเรขาคณิตชัดเจน โทนสีอ่อน ๆ เน้นวัสดุคอนกรีตไม่ทาสี ตัดด้วยลายไม้ธรรมชาติไม่เติมแต่งสีสันเช่นกัน ทำให้บรรยากาศของบ้านเต็มไปด้วยความสงบและอบอุ่น

แฝงด้วยความใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ทันสมัยและอยู่สบายในบริบทเมืองแบบญี่ปุ่นเมื่อเปิดบ้านเข้ามาจะเป็นห้องส่วนตัวในชั้นล่าง ผนังยังคงเป็นคอนกรีตฉาบเรียบ พื้นบ้านปูด้วยไม้ ประตู บันไดก็ทำด้วยไม้เช่นเดียวกัน ผนังบ้านอีกด้านหนึ่งและชั้นบนใส่กระจกใส ตัวบันไดชั้นบนก็มีเพียงแผ่นไม้โปร่ง ๆ ไม่มีลูกนอน ทำให้บ้านดูโล่งสบายตา และสว่างด้วยแสงธรรมชาติที่ส่องลอดเข้ามาในบ้านได้จังหวะพอดี

บ้านตกแต่งไม้ใส่ผนังกระจก นุ่มนวลและโปร่งเบา

ไฮไลท์ของ บ้านหลังนี้ อยู่ที่ชั้นสอง ซึ่งที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ มีห้องนั่งเล่น ครัว และระเบียงที่เชื่อมผ่าน กระจกบาน เลื่อนขนาดใหญ่ พิเศษ ทำให้ห้องนี้ ดูโปร่งสบาย แสงแดดส่องผ่านเข้า ไปภายในบ้านได้ อย่างทั่วถึง เติมความอบอุ่น ให้บ้านได้ใน ฤดูหนาวที่เย็นจัดในญี่ปุ่น ความใสของกระจกยัง ทำให้ผู้อยู่อาศัยมองออกไป เห็นวิวเมืองได้อย่าง เป็นส่วนตัวแบบ ไม่มีอุปสรรคมาบดบังสายตา บริเวณกรอบ ประตูหน้าต่าง ฝ้าเพดานโชว์ เค้าโครงไม้สวย แปลนบ้านจัดสรร

ผนังฉาบด้วยคอนกรีตสีเทาตัดกับงานไม้และกระเบื้องสีขาว มองกี่ครั้งก็สัมผัสได้ถึงความนุ่มนวลมุมนั่งเล่นที่แสนสงบนุ่มสบายด้วยโซฟาผ้าสีเทาที่ไม่ได้ดูเรียบเสียจนไม่มีสีสัน เพราะแอบวางหมอนอิงสีส้มเข้มกับสีเหลืองเอาไว้คู่กัน สร้างชีวิตชีวาให้บ้านด้วยต้นไม้ ดอกไม้ที่ประดับตกแต่งตามจุดต่าง ๆ

บ้านสไตล์มินิมอล

และเพิ่มความโปร่งเบาโรแมนติกด้วยผ้าม่านสีขาวที่ช่วยกรองแสงแดดห้องนอนชั้นล่างรับแสงที่ทะแยงมาจากช่องเปิดเหนือบันได ส่วนห้องใต้หลังคาที่ไม่มีพื้นที่ให้ใส่ช่องแสงบนผนังก็ไม่ขาดพื้นที่รับแสง เพราะสถาปนิกแก้ไขปัญหาด้วยการเจาะหลังคาใส่ช่องแสง Skylight รับแสงในมุมเฉียงตรงบริเวณเตียงพอดี ช่วยปลุกให้ตื่นมารับวันไหม่แสนสดชื่นก่อนใครในยามเช้า

บ้านสไตล์มินิมอลแบบญี่ปุ่น

บ้านสไตล์มินิมอล

นิยามของบ้านสำหรับหลาย ๆ คน ยังคงเป็นสถานที่ที่รู้สึกได้ว่าเข้าไปแล้วปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม อบอุ่น และใช้ชีวิตได้แบบที่ชอบ หนึ่งสไตล์บ้านที่โอบรับความรู้สึกนี้ได้อย่างดีในนาทีนี้ก็ต้องมีบ้านสไตล์มินิมอล บ้านอารมณ์คาเฟ่ หรือบ้านสไตล์ญี่ปุ่นอยู่ด้วยอย่างแน่นอน ไม่เฉพาะบ้านเดี่ยวที่สร้างเองเท่านั้น ในกลุ่มนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็เริ่มปรับตัวตามกระแสตลาดออกแบบบ้านจัดสรรในสไตล์นี้กันมากขึ้น

เช่นเดียวกับบ้าน•ใบ•ไม้ บ้านน่ารักที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตที่เรียบง่ายในสไตล์ญี่ปุ่น ที่เห็นเพียงครั้งเดียวก็อุ่นไปถึงหัวใจบ้านชั้นเดียวหลังคาจั่วหลังนี้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดีไซน์บ้านได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านชนบทในญี่ปุ่น สะดุดตาที่หลังคาจั่วองศาไมาสูงมุงคอนกรีตลอนสีเทา ตัดเส้นสายตาด้วยสีไม้ เจ้าของโครงการมีความตั้งใจว่าอยากทำบ้านที่คนทุกๆ วัยได้อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนหรือขยายเพิ่มเติม

คอนเซปต์หลักสำหรับการออกแบบแปลน คือ เป็นบ้านที่มีดีไซน์เรียบง่ายธรรมดาแต่ดูดี ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลงตัวในสไตล์ Minimal ที่สบาย โปร่ง โล่ง พื้นภายในบ้านมีระดับเดียวกันทั้งหมด เพื่อรองรับผู้ที่ต้องใช้รถเข็น และประตูทุกบานมีขนาดใหญ่พิเศษความกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตรแค่บ้านสีขาวที่ตัดด้วยงานไม้ก็ให้ความรู้สึกอุ่นใจแบบบ้านในญี่ปุ่นแล้ว ในรายละเอียดปลีกย่อยก็เติมไปด้วยแรงบันดาลใจจากงานสถาปัตย์แบบญี่ปุ่น อาทิ

ชายคาที่ยื่นออกจากตัวบ้านไม่มากนัก (ประมาณ 60 เซนติเมตร) กรอบหน้าต่างไม้ระแนงบานเลื่อน ฝ้าชายคาที่ใช้วัสดุลายไม้ทาทับด้วยสีย้อมไม้ไฟเบอร์ซิเมนต์ สีไม้สัก เพิ่มความเด่นชัดของตัวบ้านขึ้นมาทันที ประตูหน้าต่างไม้ระแนงเลื่อนเปิดและปิดได้ ทำหน้าที่เป็นเสมือนผนังชั้นนอกเมื่อเปิดประตูบานเลื่อนรับลม ช่วยบล็อกเรื่องสายตาบุคคลภายนอกที่รบกวนและยังรับแสงธรรมชาติได้หน้าต่างออกแบบให้เเหมือนมี 2 ชั้น

โดยที่ตัวหน้าต่างจริง ๆ จะเป็นอลูมิเนียมอบสีดำ ซึ่งติดตั้งง่าย ใช้งานได้สะดวก ดูแลรักษาไม่ยาก แต่อลูมิเนียมดูไม่เข้ากันกับบ้านญี่ปุ่น เมื่ออยากได้อารมณ์แบบแจแปนต้องมีความเป็นไม้ จึงทำกรอบไม้เสริมขึ้นมาเป็นซับวงกบครอบทับด้านนอก แล้วใส่บานระแนงไม้อีกชั้น ก็เสกสรรค์บ้านให้กลายเป็น japanese minimalist ขึ้นมาทันทีแน่นอนว่าบ้านญี่ปุ่นย่อมขาด“สวนญี่ปุ่น” ไปไม่ได้ ซึ่งจะขึ้นชื่อในเรื่องของความเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสงบ และมีความเป็นศิลปะสูง แม้จะมีส่วนประกอบไม่กี่อย่าง

บ้านสไตล์ zen ที่จะใช้กรวด หิน ต้นไม้หลัก

บ้านสไตล์มินิมอล

โดยเฉพาะสไตล์ zen ที่จะใช้กรวด หิน ต้นไม้หลัก และอ่างน้ำเล็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวนหินกรวดสีขาววาดเป็นรูปคลื่น หรือการเลือกใช้ต้นไม้ที่มีรูปทรงเฉพาะตัว จึงมีเอกลักษณ์ต่างจากสวนแบบอื่นอย่างชัดเจน สำหรับบ้านนี้ก็จัดง่าย ๆ มีกรวด แผ่นหินปูทางเดิน และต้นไม้ทรงสวย เท่านี้ก็พอนำเสนอบรรยากาศสวนญี่ปุ่นได้แล้วเอ็งกาวะ (Engawa)

เป็นชื่อเรียกเฉลียงไม้ที่ยื่นออกมาด้านนอกตัวบ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ สมาชิกในบ้านสามารถใช้เวลาวางออกมาใช้เวลาผ่อนคลายไปกับการนั่งอ่านหนังสือ ดื่มกาแฟถ้วยโปรดพร้อมชมสวน หรือเปลี่ยนบรรยากาศออกมาทานข้าวในวันที่อากาศเป็นใจ ชมท้องฟ้ายามค่ำคืนก่อนเข้านอนก็แสนจะโรแมนติก

“สเปซ” คือ หัวใจของ บ้านหลังนี้ ซึ่งวางคอนเซ็ป minimalist ภายในจึงต้องดูเปิดโล่งกว้าง คลีนๆ มีพื้นที่ให้หายใจสบายๆ เน้นความเรียบง่าย โดยใช้สีกลางๆ  มีช่องแสง ขนาดใหญ่รอบด้าน เพื่อเผปิดรับแสงจากธรรมชาติ  แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องความร้อน เพราะบ้านติดตั้ง Glass Green ซึ่งเป็นกระจก ตัดแสงประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติยอมให้แสงสว่างส่องผ่านได้ 75 เปอร์เซ็นต์ จึงช่วยให้ได้ทั้งความเย็นและ ความสว่างปลอดโปร่ง ไปพร้อมกัน พื้นบ้านปูด้วยวัสดุ SPC ลายไม้เลือกเฉดสีอ่อน ๆ ทำให้ทุกมุมในบ้านมีความละมุน

ห้องโถงกว้างขวางเหมาะสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ อย่างอนเกประสงค์ มีวิวติดสวนหลังบ้าน หากสังเกตดูจะเห็นว่าเฉลียงบ้านและพื้นภายในบ้านจะออกแบบให้มีระดับเดียวกันทั้งหมด เพื่อรองรับสมาชิกในบ้านที่ต้องใช้รถเข็น และประตูทุกบานมีขนาดใหญ่พิเศษรถเข็นเข้าออกได้ง่าย ทุกคนในบ้านจึงมีโอกาสเข้าถึงพื้นที่ธรรมชาติได้เท่า ๆ กัน

บ้านสไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่

จะมีจุดเน้น สำคัญ ๆ เป็นหลักไม่ กี่อย่าง หากจับจุดได้ ถูกก็จะสร้างบรรยากาศ แบบแจแปน ได้ง่ายๆ อาทิ การเลือกใช้ไม้เป็นส่วนประกอบของตัวบ้าน เช่น พื้นบ้าน ฝ้าเพดาน และเฟอร์นิเจอร์ (หากงบประมาณ น้อยอาจใช้ ไม้สังเคราะห์ทาสีแทนได้) การเลือก โทนสีของบ้าน เน้นใช้สีเรียบ ๆ อย่างสีโมโน โทนอ่อน ๆ

เช่น สีเทา สีขาว ครีม เขียวตุ่น ๆ น้ำตาล เป็นโทนสีที่ ดูนวลสบายตา ให้ความ ผ่อนคลาย ภายนอก ก็ใช้เส้นสาย สะอาด เรียบง่าย ใช้ไม้สร้าง กรอบสายตา พื้นที่ภายใน พยายามเปิดโล่ง ให้มากที่สุด สร้างสเปซ โล่งกว้าง ส่วนภูมิทัศน์ ภายนอกก็ จัดสวน แบบเซน ใส่อ่างน้ำหิน และ ไม้ไผ่ก็เพิ่ม ความเป็นญี่ปุ่น ได้ทันที