บ้านหน้าแคบ

บ้านหน้าแคบ

Contents

บ้านหน้าแคบ

บ้านหน้าแคบ

บ้านหน้าแคบ บ้านเมทัลชีทสีเขียว ลุคเรียบหรูดูแพง ภายในเล่นระดับหากพูดถึงบ้านเมทัลชีท หลายคนอาจจะนึกภาพบ้านผนังโลหะที่เหมือนการใช้งานไม่ยืนยาว แถมยังติดกับความรู้สึกว่าต้องร้อนแน่ๆ แต่ปัจจุบันนี้บ้านเมทัลชีทถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ใช้งานได้ดี เพราะมีหลายรุ่นใหม่ๆ ให้เลือก ตอบโจทย์บ้านยุคใหม่ทั้งคุณสมบัติ

สี และการดีไซน์ หากใครกำลังคิดจะใช้วัสดุเมทัลชืท เรามีหนึ่งตัวอย่างบ้านเมทัลชีทที่สะดุดตามาให้ชม กับ Verde House ตั้งอยู่ในย่าน Bintaro South Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย ตัวบ้านโดดเด่นด้วยโทนสีเขียวที่สะดุดตา ภายในได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความรู้สึกสบายที่สุดในการใช้ชีวิตสำหรับทั้งครอบครัว คลิ๊กที่นี่

บ้านเมทัลชีทสีเขียว

โปรเจ็คนี้เป็นงานรื้อสร้างใหม่ในไซต์เก่าพื้นที่ 6×15 ม. ถือว่าขนาดไม่ใหญ่นัก และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ดังนั้น พื้นที่ภายในจึงต้องออกแบบให้ดีเพื่อให้บ้านดูกว้างและะมีแสงสว่างเพียงพอ วิธีการออกแบบหลักสำหรับ Verde House คือการแบ่งความสูงของพื้นที่เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะสม และนำวัสดุที่เหลือจากอาคารเก่ากลับมาใช้ใหม่

ช่วยลดปริมาณขยะจากการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนภายนอกจะเป็นส่วนผสมระหว่างเมทัลชีทสีเขียวใบไม้ เหล็กฉีกสีดำ บล็อกช่องลม และคอนกรีตเทาๆ ออกแบบส่วนหน้าให้เหมือนโรงนาสูง ๆ จากภายนอกจะเห็นเพียง 2 ชั้น แต่ภายในแบ่งออกเป็นชั้นย่อย ๆ ถึง 4 ชั้น


บ้านหน้าแคบ

พื้นที่ในบ้าน Verde House แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามแนวนอน คือ พื้นที่ส่วนกลางอยู่หน้าบ้านมีพื้นที่เปิดโล่งโถงสูงตรงกลางที่แบ่งพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง พื้นที่ส่วนตัวจะอยู่ด้านหลัง และชั้น 2 ที่เป็นการเล่นระดับขึ้นไปเป็นห้องนอน ชั้นล่างสุดจะเป็นที่จอดรถ เข้ามามีห้องเก็บของ แล้วตามบันไดขึ้นมาสู่ชั้นแรกประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น มุมทานข้าว และครัวอยู่บริเวณเดียวกัน จากนั้นจะเป็นบันไดไปสู่ห้องนอนและชั้นบน สำหรับส่วนที่กรุวัสดุเมทัลชีทด้านหน้าเพิ่มฉนวนกันความร้อนทั้งผนังและหลังคา บ้านจึงคงความเย็นสบายไม่ร้อน ส่วนหน้าจะไม่ใช่โซนใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยมีคนใช้งานช่วงกลางวัน จึงไม่มีปัญหาในการใช้งาน

ตกแต่งมุมนั่งเล่นและครัวด้วยโทนสีเทา เขียวกำมะหยี่ ทำให้บ้านดูแข็งแกร่งด้วยโครงสร้างคอนกรีตเปลือย แต่คลาสสิคหรูหรากับงานผ้าและสีดำ พร้อมใส่ความเป็นธรรมชาติด้วยงานไม้ ชุดสี 3 สีนี้จับคู่เมื่อไหร่รับรองว่าไม่พลาดความสูงของพื้นที่มักทำให้มีการแบ่งแยก ตัวอย่างง่ายๆ ของบ้านที่มีตั้งแต่สองชั้นทั่วไป

จะเทพื้นเพดานแบ่งระหว่างชั้นบนและชั้นล่างให้ตัดขาดออกจากกัน กว่าจะมาพบกันแต่ละครั้งก็ต้องเดินขึ้นลงบันไดไปที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง นี่จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่สถาปนิกเลือกใช้วิธีการเล่นระดับบ้านให้ค่อย ๆ สูงขึ้นไปทีละสเต็ป ทำให้แต่ละชุดการใช้งานมีความเชื่อมต่อกันได้แบบไม่สูงเกินไป เหมือนมีชั้นลอยที่มองเห็นกันได้และใช้งานสะดวก แล้วสร้างช่องว่างเชื่อมต่อในแนวตั้งเพื่อลดอุปสรรคในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

ลานภายในที่ตั้งอยู่ตรงกลางของบ้านมีสเต็ปบันไดที่นั่งเล่นได้ บิลท์ดิดกับกระถางคอนกรีตปลูกต้นไม้เขียวๆ ให้ความรู้สึกสดชื่น ขยับขึ้นไปจากส่วนนี้จะเป็นห้องนอนประตูกระจกและชั้นสอง เหนือลานเป็นโถงสูงและมี skylight ดึงแสงลงมาช่วงกลางอาคาร บ้านจึงเหมือนมีพื้นที่กลางแจ้งภายใน โดยพื้นฐานแล้วบ้านจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ส่วนกลาง


บ้านหน้าแคบ

ของบ้านนี้ เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งาน เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังช่วยให้อากาศภายในอาคารไหลเวียนได้ดีขึ้นโดยไม่ทำให้รู้สึกร้อน ด้วยการเร่งการไหลของอากาศร้อนออกจากบ้านผ่านช่องเปิดที่ออกแบบรับกันอย่างดี

ห้องนอนถูกจัดวางด้านหลังให้ความเป็นส่วนตัว ในแต่ละชั้นจะสามารถมองเห็นสวนที่คอร์ทยาร์ดกลางบ้านได้ ชั้นล่างมองขึ้นมาเห็นชั้นบน ส่วนคนที่อยู่ชั้นบนก็ไม่ถูกตัดขาดจากพื้นที่อื่นๆ ของบ้าน เอกลักษณ์ของบ้านแบบนี้ทำให้อยู่ได้อย่างสนุกสนานไม่มีเบื่อ ลืมบ้านสองชั้นสามชั้นแบเดิมๆ ไปได้เลย

บ้านเนื้อที่แคบแต่ลึก เหมาะจะจัดแปลนแบบเล่นระดับ (Split Level) เพราะลักษณะของพื้นที่ใช้สอยภายในจะลดหลั่นกัน  เนื่องจากการเทพื้นจะมีการเหลื่อมของพื้นที่เป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน โดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด และใช้บันไดเป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่ สร้างช่องว่างใจกลางอาคารให้แสงและอากาศไหลเวียนภายใน ลดข้อจำกัดเรื่องแสงของบ้านหน้าแคบได้ดี นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีลูกเล่น เติมมิติของพื้นที่ใช้งานให้ดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน 

เมทัลชีท คืออะไร?


เมทัลชีท

เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี  เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป

อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดีปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย

ข้อดีของ เมทัลชีท

1) ก่อสร้างได้เร็วกว่า
    เนื่องจากแผ่นของเมทัลชีทนั้นใหญ่กว่ากระเบื้องดินเผามาก และมีแผ่นใหญ่กว่า จึงใช้ระยะเวลามุงกระเบื้องน้อยกว่า หากก่อสร้างหลังคาด้วยเมทัลชีทจะเสร็จเร็วกว่ากระเบื้องดินเผามาก

2) น้ำหนักเบา ลดการรับน้ำหนักของเสาหรือคาน
    หากบ้านมีพื้นที่หลังคาเยอะแล้วใช้หลังคาดินเผา จะต้องออกแบบโครงสร้างหลักรองรับน้ำหนักหลังคาสูง แต่หากใช้เมทัลชีทจะคำนวณน้ำหนักใช้น้อยกว่ากระเบื้องดินเผามาก จึงเหมาะสำหรับพวกบ้านน็อคดาวน์ และบ้านเหล็กกล่อง


เมทัลชีท



3) ทำขอบยื่นออกมาได้ยาวมากกว่ากระเบื้องดินเผา
    กระเบื้องดินเผามีข้อจำกัดมาก ทั้งขนาดและน้ำหนัก จึงทำส่วนที่ยื่นออกมาจากเชิงหลังคาได้น้อยกว่าแผ่นเมทัลชีท มีผลต่อระยะบังแดด และระยะสาดของน้ำฝนด้วย

4) ปัญหารั่วซึมน้อยกว่า
    พบปัญหาการแตกน้อยกว่า ยกเว้นว่าจะเป็นรูจากการเกิดสนิม ในขณะเดียวกันกระเบื้องดินเผาหากมีเศษวัสดุน้ำหนักเยอะมากระแทกจะแตกทำให้น้ำเข้าเวลาฝนตกได้ง่าย หากช่างมีฝีมือจะรู้เทคนิคการปูเมทัลชีทเชื่อมกับโครงหลังคาเหล็ก ลดปัญหารั่วซึมได้มากกว่ากระเบื้องดินเผา


เมทัลชีท


5) มีสีให้เลือกมาก
    มีสีสันให้เลือกหลากสี นอกจากหลังคาบ้านแล้ว ยังใช้ทำกันสาดบังฝน หรือมุงครอบเป็นรางกันน้ำฝนเล็กๆ น้อยๆ ได้สวยงาม เพราะใช้สีเคลือบหลากหลาย 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเมทัลชีทมาทำหลังคาบ้านได้รับความนิยมสูงมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านสไตล์ Modern ที่ต้องการความเรียบแบน มีความชันของหลังคาต่ำ ซึ่งเมทัลชีทสามารถออกแบบหลังคาได้ต่ำสุดถึง 5 องศา (ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปลอนและความยาวของระยะแปของหลังคา) แต่หากใช้วัสดุกระเบื้องหลังคาซีแพ็คทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ ครั้นจะใช้หลังคา Slab คอนกรีตก็มีต้นทุนที่สูงกว่ากันมาก ทางเลือกในการนำเมทัลชีทมาใช้ทำหลังคาจึงได้คะแนนทั้งด้านดีไซน์ การติดตั้งที่รวดเร็ว และราคาก่อสร้าง

แต่ปัญหาหลัก ๆ ของการใช้เมทัลชีท คือ ความร้อน และมีเสียงดังรบกวนเมื่อฝนตก เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จึงขอพาไปทำความรู้จักกับเมทัลชีทให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังสร้างบ้านและกำลังตัดสินใจเลือกเมทัลชีท ได้รู้จุดเด่น จุดด้อยของเมทัลชีท และเลือกสเปคเมทัลชีทได้เหมาะสมกับการใช้งาน