บ้านไม้ไม่มีชายคา 

บ้านไม้ไม่มีชายคา 

Contents

บ้านไม้ไม่มีชายคา 

บ้านไม้ไม่มีชายคา ระเบียงกว้างสำหรับครอบครัว Adventureบ้านในออสเตรเลียยังคงมีอะไรให้เราประหลาดใจได้เสมอ ไม่ใช่ความหรูหราหรือความแปลกของรูปทรง แต่เป็นการนำสิ่งง่าย ๆ ความถ่อมตัว มาประกอบกันนำเสนออย่างพอดี คราวนี้เป็นคิวของ Bencallery architects ออกแบบบ้านให้มีเส้นสายที่ดูเรียบ  ซ่อนอยู่หลังบ้านเก่าที่สร้างมานานแล้วอย่างเข้ากัน ก่อให้เกิดเสน่ห์ที่น่าจดจำเมื่อแรกเห็น ภายในยังมีผิวของวัสดุที่เน้นโชว์เนื้อแท้โดยเฉพาะงานไม้ที่นำเสนอความมีฝีมือของช่าง ความอบอุ่นอย่างทันสมัย และพื้นที่ที่จัดสรรที่น่าอยู่ตรงโจทย์ตรงใจ บ้านพักพูลวิลล่า บางแสน

บ้านไม้หลังคาจั่วสไตล์ Modern Barn

โปรเจ็กต์นี้ได้เปลี่ยนโฉมบังกะโลสไตล์แคลิฟอร์เนียดั้งเดิม โดยดึงดูดสายตาเข้าไปด้านในด้วยผนังไม้สีน้ำตาลที่ซ้อนขึ้นมาในองศาเดียวกับหลังคาเดิม และช่องแสงที่ติดกระจกเฉียงตามแนวหลังคาที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในท้องถิ่น ความสูงและวัสดุที่ไม่ได้เด่นเกินหน้าเกินตาบ้านเก่า แสดงให้เห็นถึงความเคารพในคุณค่าของอาคารเก่าและเพื่อนบ้าน ซึ่งอันที่จริงก็เป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐด้วย ที่จะมีรายละเอียดข้อบังคับในการต่อเติมค่อนข้างเข้มงวดทั้งดีไซน์ ความสูง และวัสดุ เพื่อเน้นทัศนียภาพโดยรวมของชุมชนให้สวยงาม

เมื่อเดินลึกเข้ามาทางด้านหลังบ้าน จึงจะเห็นส่วนต่อเติมสำหรับครอบครัวสมาชิกทั้งหมด 5 คนที่เป็นชาวแคมป์ตัวยง ที่มีไลฟ์สไตล์ความใกล้ชิดกับกิจกรรมกลางแจ้งและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เจ้าของบ้านจึงต้องการบ้านที่ตอบโจทย์ชีวิตที่มีองค์ประกอบของแสงแดด และกระแสลมเพื่อสร้างความสบายตามธรรมชาติ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวภายในบ้าน โดยการใช้ที่ว่าง พื้นที่เชื่อมต่อกลางแจ้ง และผนังกระจกให้แสงแบบกระจายเพื่อเชื่อมโยงบ้านเข้ากันกับการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ในแต่ละช่วงของวัน

ชั้นล่างและห้องนอนชั้นหนึ่งเป็นเหมือนหลุมหลบภัยอันเงียบสงบ ที่ใส่รายละเอียดอันน่าดึงดูดใจของวิวท้องฟ้า สวน ทิวไม้ ผ่านผนังกระจกและช่องว่างความสูงสองเท่า Double Space ตรงข้ามสนามหลังบ้าน เชื้อเชิญจิตวิญญาณแห่งการเป็นนักสำรวจกระจายเข้าสู่ภายใน แน่นอนว่าการมีส่วนเปิดกว้างต่อสาธารณะก็ต้องทำการควบคุมมุมมองของการเปิดเผยไปพร้อมกัน เพื่อความป็นส่วนตัวในบางเวลาที่ต้องการ สถาปนิกจึงใส่ระแนงไม้ช่วยควบคุมความแรงของแสงและการมองเห็นในส่วนหน้าอาคาร ความลึกของตัวบ้านที่ขยับเข้ามาข้างในช่วยปิดบังและเบลอขอบเขตด้านหลัง โดยมีผ้าม่านบางๆ สูงจากที่นั่งเบย์วินโดว์จรดเพดานเพิ่มความเป็นส่วนตัวในอีกระดับ

ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร และครัวที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ในแปลนบ้านแบบ open plan ที่เกิดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ทำให้สมาชิกในบ้านแวะเวียนเข้ามาใช้งานพร้อมกันได้ 5 คนอย่างสบายๆ และยังรองรับการมาเยือนของเพื่อน ๆ ปาร์ตี้ในวันพิเศษกับแขกได้อีกจำนวนนับสิบ ๆ คนโดยไม่รู้สึกว่าอึดอัดคับแคบโรงแรมพูลวิลล่าพัทยา

วัสดุหลัก ๆ ในบ้านจะเป็นงานไม้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นบุไม้ Vic Ash พื้นไม้ Tas Oak และระแนง Vic Ash ที่อาบไล้ด้วยแสงธรรมชาติ แสดงถึงความอบอุ่นที่มีอยู่ในที่พักแห่งนี้ ตัดเส้นสายตาด้วยสีดำของกรอบประตูหน้าต่าง ของใช้ของแต่งบ้าน อาทิ ตู้ โคมไฟทรงเรขาคณิต โต๊ะ ที่ทำให้บ้านดูทันสมัยและมีมิติขึ้น ในส่วนครัวนอกจากสวยด้วยไม้แล้วยังมีหน้าต่างบานเลื่อนยาวตลอดความยาวของเคาน์เตอร์ครัวโดยมีความกว้างมากกว่าสี่เมตร และอีกด้านเป็นช่องแสงใหญ่ๆ เหมือนตู้โชว์เพื่อดึงให้แสงและวิวเข้าสู่ภายในได้เต็มที่

แม้ว่าบ้านนี้จะเน้นพื้นที่ให้ทุกคนปฏิสัมพันธ์กันได้ง่ายๆ ผ่านระนาบแนวนอนของบ้านที่เปิดโล่งไหลลื่น และระนาบแนวตั้งผ่านโถงสูง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกทั้งสามของพวกเขาเติบโตขึ้น ก็ต้องการมีพื้นที่ของตัวเองเมื่อจำเป็น จึงมีพื้นที่แยกออกมาให้นั่งทำงานเงียบๆ และมุมนั่งเล่นในบ้าน นอกบ้าน และห้องนอนที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว

งานไม้แสดงฝีมืออันประณีตของช่างในท้องถิ่นได้อย่างดี นอกจากนี้ความเป็นไม้ยังเพิ่มสัมผัสที่นุ่มนวล ปลอดภัย เป็นวัสดุที่ปลูกทดแทนได้ ไม่สร้างความร้อนเพิ่มให้กับโลก และยังเป็นฉนวนปกป้องบ้านจากความร้อนในฤดูร้อน และความเย็นในฤดูหนาวของออสเตรเลียได้ดี

แนวคิดกลยุทธ์เชิงพื้นที่ของบ้านนี้มีหลัก ๆ 4 อย่าง คือ ความสงบและหลบภัย ความลึกลับและการผจญภัย สถาปนิกจึงเติมความรู้สึกAdventure เล็กๆ น้อยๆ ด้วยการทำโถงบันไดแบบ open void มีราวกันตกเหล็กเส้นบาง ๆ  เมื่อขึ้นไปชั้นสองจะพบกับระเบียงที่มีคานยื่นออกมาดูโปร่ง อิสระ และกระตุ้นความรู้สึกของความเบิกบานใจ ในขณะเดียวกันก็ดึงเอาความเชื่อมโยงทางสายตากับธรรมชาติที่อยู่ไกลออกไปเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน

บนชั้นสองเต็มไปด้วยความโปร่งเบาของกระจกที่เป็นส่วนประกอบใหญ่ ๆ หน้าต่างและประตูกระจกที่นี่มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งบานเลื่อน บานคู่ หน้าต่างแบบติดตาย และบานเกล็ด ที่ส่งเสริมการระบายอากาศแบบไหลข้ามช่องตามธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ ทุกบานมีกระจกสองชั้นเคลือบ Low-e Toughened พร้อม Argon Fill ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานของที่นี่ คลิ๊กที่นี่

ในห้องนอนชั้นสองเหมือนไม่มีผนัง เพราะแวดล้อมด้วยที่ว่างเชื่อมต่อพื้นที่ชั้นล่างและกระจกหลากรูปแบบ จากห้องนอนจึงสามารถรับแสงแดดและทิวทัศน์ด้วยผนังกระจกที่เปิด ปิด เพื่อรับลมได้ มองเห็นระเบียง วิวต้นไม้ใหญ่และท้องฟ้าในมุมสูงตรงจั่วบ้าน ปล่อยสายตาออกไปได้ไกลโดยมีผ้าม่านเป็นตัวช่วยพรางแสงและบังสายตา

 การออกแบบบ้านทรงจั่วโมเดิร์น ไม่มีชายคา สิ่งที่ต้องระวังคือฝนที่จะสาดเข้ามาทำร้ายบ้านได้ทุกทิศทาง จึงต้องมองหาวิธีปกป้องตัวบ้านเอาไว้ด้วย อาทิการทำหลังคายื่นออกมาในขณะที่ตัวบ้านขยับลึกเข้าไปข้างใน หลังคาจะทำหน้าที่เป็นกันสาดปกป้องด้านนั้นๆ ของบ้านโดยไม่ทำให้รูปทรงของบ้านเสียไป หรือจะใส่รางน้ำฝนซ่อนระหว่างปลายหลังคากับผนัง การเลือกวัสดุผนังที่ทนชื้น การใช้สีทาผนีังที่มีคุณสมบัติทนความชื้น เม็ดฝนไม่เกาะ ช่วยลดความชื้นสะสมบนผนังด้านข้างที่ไม่มีชายคา เป็นต้น 

ซื้อบ้านไม้ดีไหม

ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อบ้านไม้แต่ละหลัง สิ่งที่คุณควรจะต้องทำก็คือการหาข้อมูลและพิจารณาถึงงบประมาณที่ตั้งไว้ รวมทั้งสิ่งที่คุณจะต้องเจอหากตัดสินใจเลือกซื้อบ้านไม้ ดังนั้นหากกำลังพิจารณาว่าจะเลือกซื้อบ้านไม้ดีไหม ขอให้คุณลองคิดถึงข้อดี-ข้อด้อย ต่อไปนี้

ข้อดีของบ้านไม้

1. บ้านไม้ให้ความเป็นธรรมชาติมากกว่าบ้านแบบอื่น ๆ และยังเข้ากับของตกแต่งที่เป็นแนวธรรมชาติได้ดี

2. บ้านไม้เข้ากับสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย เพราะบ้านไม้สามารถถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากบ้านแบบอื่น ๆ ทำให้บ้านไม้มักเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว

3. บ้านไม้แต่ละหลังล้วนมีเอกลักษณ์ต่างกัน เนื่องจากเนื้อไม้ที่นำมาทำบ้านไม้ต่างก็มีลวดลายธรรมชาติของมันเอง ดังนั้นจึงทำให้ลวดลายของบ้านไม้แต่ละหลังมีความสวยงามโดดเด่นในตัวเอง

4. บ้านไม้ให้ความแข็งแรง คงทน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นหากเกิดแผ่นดินไหว บ้านไม้จะไม่แตกร้าวเหมือนบ้านวัสดุอื่น ๆ

5. บ้านไม้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถปลูกทดแทนได้

6. บ้านไม้สามารถรื้อไม้นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ หรือนำไม้ไปสร้างเป็นบ้านไม้อีกหลังก็ยังได้

7. บ้านไม้ง่ายต่อการรื้อถอนและปรับปรุงมากกว่าบ้านแบบอื่น ๆ มาก บ้านไม้บางหลังยังง่ายต่อการยก-ย้ายไปได้ทั้งหลังอีกด้วย

ข้อด้อยของบ้านไม้

1. การสร้างหรือซ่อมบำรุงบ้านไม้ จะต้องใช้ช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญและมีความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นอาจจะเสียไม้เนื้อดีและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

2. ไม้สำหรับใช้สร้างบ้านไม้มักมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นต้นทุนในการสร้างบ้านไม้หนึ่งหลังจึงขึ้นอยู่กับวัสดุและเนื้อไม้ เช่น บ้านไม้ที่สร้างจากไม้เนื้อดี ไม้เนื้อแข็ง ก็จะมีราคาแพงกว่าบ้านไม้แบบอื่น ๆ

3. บ้านไม้อาจจะยืด-หด ตามสภาพอากาศ ดังนั้นอาจจะเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมระหว่างช่องว่างของบ้านไม้

4. บ้านไม้มักจะมีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด ที่อาจก่อให้เกิดความรำคาญใจ

5. ช่วงอากาศหนาว ภายในบ้านไม้อาจจะเย็นกว่าปกติ เนื่องจากไม้มีช่องลมระบายอากาศ

6. บ้านไม้มักจะเจอปัญหาเรื่องปลวกและแมลงที่มากัดกินเนื้อไม้ ดังนั้นจึงจะต้องดูแลรักษาบ้านไม้เป็นพิเศษ

7. บ้านไม้อาจจะเจอปัญหาไม้บวมน้ำ ไม้ผุ ซึ่งจะต้องปรึกษากับช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบสภาพก่อนเลือกซื้อบ้านไม้เสมอ

วิธีการเลือกซื้อบ้านไม้

1. พิจารณาสภาพของบ้านไม้ เก่ามากหรือไม่ สร้างขึ้นมากี่ปี บ้านไม้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบสภาพบ้านอย่างละเอียด เนื่องจากอาจเจอปัญหาไม้ผุ ไม้ลอก ไม้บวมน้ำ หรือโครงสร้างบ้านไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานต่าง ๆ ที่จะต้องมีการดำเนินการแก้ไขก่อนตัดสินใจเข้าอยู่

2. บ้านไม้หลังนั้นต้องมีการซ่อมบำรุงมากน้อยแค่ไหน ซื้อบ้านบ้านไม้แต่ละหลังย่อมต้องการการดูแลที่มากกว่าบ้านแบบอื่น ๆ แต่บ้านไม้ที่คุณจะเลือกซื้อนั้น ลองพิจารณาดูก่อนว่าจะต้องเสียค่าซ่อมบำรุงมากน้อยแค่ไหน คำนวณแล้วคุ้มค่ากับเงินที่จะต้องเสียไปกับการบำรุงรักษาหรือไม่

3. ราคาและมูลค่าของบ้านไม้ หากต้องการเลือกบ้านไม้ให้ประหยัด ควรจะเลือกบ้านไม้ที่สร้างผสมกับวัสดุอื่น ๆ เช่น บ้านไม้กึ่งปูน เพื่อให้ลดราคาค่าก่อสร้างลง หรือเลือกซื้อบ้านไม้เก่าแล้วรื้อไม้มาใช้ก่อนสร้างใหม่

4. เลือกบ้านไม้ที่โครงสร้างภายนอกใช้ไม้เนื้อแข็ง ตัวอย่างเช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง เพราะทนทานต่อการผุ แข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ดี